อมรณา สารานุกรมแห่งความตาย อมรณา สารานุกรมแห่งความตาย
Ads
  • เรื่องผีสั้นๆ
  • หนังสยองขวัญ การ์ตูนผี และเพลงต้องสาป
  • เกมผี เกมสยองขวัญ

กาสา กาสัก วิหคล่องหน

  • 31-03-2023
  • มือปริศนา
  • 6,960
Line borderless Line borderless
กาสา กาสัก วิหคล่องหน

กาสา กาสัก วิหคลึกลับที่ไม่เคยมีใครเห็นตัว

 

 

กาสา หรือ กาสัก คืออะไร?

 

            “กาสา” หรือ “กาสัก” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า กาสัก เป็นสัตว์กายสิทธิ์ประเภทนกที่บินมาโดยไม่เห็นตัว ถ้าหากใครได้ครอบครองเป็นเจ้าของขนของกาสักจะสามารถล่องหนหายตัวได้

            คนโบราณเชื่อว่าขนของกาสาเป็นของวิเศษ ถึงแม้จะมองไม่เห็นตัวนกกาสา แต่ถ้าหากขนเกิดหลุดร่วงตามธรรมชาติ มนุษย์จะสามารถมองเห็นขนเส้นนั้นได้ ถ้าหากมีคนหรือสัตว์ที่ยังมีชีวิตครอบครอง ขนนกกาสาจะมีอำนาจช่วยบังตา ทำให้ล่องหนหายตัวได้ โดยทั่วไปแล้วกาสัก กาสา เป็นนกที่มีนิสัยรักสงบ แต่ชอบมีความอยากรู้อยากเห็นเลยมักแอบบินเข้ามาใกล้มนุษย์เพื่อคลายความสงสัยก่อนที่จะบินจากไป แต่ถ้าหากกาสักเข้าจู่โจมเหยื่อ มันก็จะทำการบินเข้ามาจิกกันดื้อๆ จนเกิดเป็นรอยแผลเหมือนกับที่ถูกนกขนาดใหญ่จิก ทำให้มันถูกนับให้เป็นวิหคล่องหน ที่คนธรรมดาไม่สามารถมองเห็นตัว จัดอยู่ในกลุ่มนกลึกลับเหมือนกับ “นกการเวก”

 

 

การปรากฏตัวของนกกาสา กาสัก ในวรรณคดี

 

ภาพจาก : silpa-mag.com

 

            บันทึกการทำร้ายมนุษย์ของนกกาสัก เกิดขึ้นในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนกษัตริย์สามัคคี โดยลูกสาวเจ้าเมืองลังกา ได้ทำการปล่อยนกกาสักออกไปรบกวนการเป่าปี่ของพระอภัยมณีเป็นจำนวนสองตัว จนทำให้พระอภัยมณีต้องคอยปัดป้องนกกาสักจนกระทั่งปี่หล่นจากมือ โดยมีความในวรรณคดี ดังต่อไปนี้

            “นกกาสักปักษีเห็นผีสาง

            เข้าจิกนางการวิกเข้าจิกผัว

            จะตีรันเท่าไหร่มันไม่กลัว

            จะจับก็ไม่อยู่มันสู้รบ”

            ด้วยพฤติกรรมของนกกาสัก ที่ปรากฏตัวในวรรณคดีพระอภัยมณี ยังเป็นการช่วยเสริมความเชื่อของคนในสมัยก่อน หรือสุนทรภู่ ผู้แต่งเรื่องพระอภัยมณีว่านกกาสัก สามารถถูกนำมาเลี้ยงไว้เป็นบริวาร แถมยังฉลาดมากพอที่จะรับคำสั่งไปทำร้ายคู่อริของผู้เป็นนายได้อีกด้วย

 

ว่านกาสัก พืชศักดิ์สิทธิ์

 

ว่านพญากาสัก ภาพจาก : nanagarden.com

 

             นอกจากนี้กาสักยังเป็นชื่อเรียกของไม้พุ่มประเภทว่านชนิดหนึ่ง หรือที่มักเรียกกันว่า “พญากาสัก เสือนั่งร่ม ว่านเสื้อร้องไห้ ว่านหอกหล่อ และตาลปัตรฤาษี” ใบของว่านกาสักมีขนาดใหญ่ นิยมนำมาใช้ทำยาได้ โดยเชื่อว่าใบ และหัว เมื่อนำมาทานแล้วจะช่วยทำให้อยู่ยงคงกรันชาตรี ศาสตราวุธทั้งปวง มีด ไม้ หอก ธนู ปืน ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้นว่านจะขึ้นในช่วงเดือนห้า หน้าฝน เมื่อฝนตก ฟ้าร้องหัวว่านจะขึ้น เมื่อต้องการใช้งานจะนำหัวว่านมาเสกด้วยคาถา

            “อุทธัง อุทโธ นะโม พุทธายะ” (สวด 7 จบ) แล้วทาน หรือเสกหัวว่านแล้วนำติดตัวไปจะช่วยให้คุ้มครองให้แคล้วคลาดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ว่านกาสักยังได้รับความนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของพระเครื่องรุ่นคงกระพันได้เป็นอย่างดี)

 

บันทึกการพบเห็นนกกาสา กาสัก

 

            เนื่องจากความเชื่อที่ว่ากาสัก เป็นนกที่สามารถล่องหนหายตัวได้ ทำให้การได้พบกาสัก เป็นสิ่งที่ยากเป็นอย่างมาก คนส่วนใหญ่มักได้ยินเพียงเสียงของมันเท่านั้น ในนิตยสารกระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ 155 หน้า 1 มีการบันทึกคำบอกเล่าของพระรูปหนึ่งที่ได้พบกับกาสัก ในขณะที่ทำการเดินธุดงค์ เสียงเหมือนนกตัวใหญ่กำลังกระพือปีกบินแต่มองไม่เห็นตัวบินรอบกลด เหมือนกำลังสำรวจว่าเจ้าของกลดเป็นใคร ท่านพยายามเพ่งก็มองไม่เห็นตัว มีเพียงใบไม้ที่ไหวตามเส้นทางการบินให้เห็น หลังจากที่ทำการค้นคว้าพบว่าเป็น “กาสัก”

            หลวงพ่อธรรมกวี เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส ท่านได้เคยทำการเทศน์เกี่ยวกับกาสักเอาไว้ ในเรื่องของ “คาถากาสลัก” หรือ “คาถากาสัก” ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก ทำให้บางคนที่ศรัทธาได้ทำการสักเอาไว้ในยันต์ และบนผิวหนังเพื่อไว้ใช้ช่วยปกป้องกันภัย แม้คาถากาสักจะได้รับการยอมรับอย่างมาก แต่กลับไม่ปรากฏที่มา มีผู้สันนิษฐานว่าอาจมาจากบทสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก แต่ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาก็ได้ทำการปฏิเสธข้อสันนิษฐานดังกล่าว ทำให้คาถากาสักกลายเป็นคาถาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา เป็นการส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หลายคนที่ได้รับมีความศรัทธาสามารถท่องได้ สวดได้ แต่ไม่มีผู้ใดที่ทราบความหมายอย่างชัดเจน หลังจากที่ทำการพยายามค้นคว้า หลวงพ่อท่านทราบเพียงว่ากาสัก หรือกาสลัก เป็นชื่อของนกกายสิทธิ์ ที่ไม่เคยมีใครเคยเห็นตัว เคยได้ยินเพียงเสียงร้องเท่านั้น

 

คำสวดของคาถากาสัก

            ในส่วนคำสวดของคาถากาสัก มีลักษณะการท่องเป็นฉันท์ โดยในแต่ละวรรคจะมีทั้งหมด 8 คำ โดยมีคำสวดดังต่อไปนี้

            “จะชะ ทุชชะนะสังสัคคัง     ภะชะปัณฑิตะเสวะนัง

            กะระ ปุญญะมะโหรัตตัง     สะระ นิจจะมะนิจจะตัง”

            หัวใจสำคัญของคาถาสัก อยู่ที่คำแรกของของคำสวดในแต่ละวรรค คือ “จะ ภะ กะ สะ” โดยความหมายของคาถากาสัก เมื่อทำการแปลเป็นไทยจะมีความหมายดังต่อไปนี้

            จะชะ ทุชชะนะสังสัคคัง = สละหลีกเลี่ยงคนพาล

            ภะชะปัณฑิตะเสวะนัง = ให้คบหาบัณฑิต

            กะระ ปุญญะมะโหรัตตัง = ให้หมั่นทำบุญทั้งกลางวัน และกลางคืน

            สะระ นิจจะมะนิจจะตัง = หมั่นให้ถึงความไม่เที่ยงอยู่เสมอ

            นอกจากนี้ยังมีคาถาหัวใจนกกาสัก ที่ปรากฏในพระคาถาหัวใจ โดยมีคำกล่าวท่องว่า “กา-ละ-ถา-นะ” ซึ่งเป็นบทย่อ โดยนำหลักคำสำคัญ หลักแห่งความหมายแห่งพระคาถาบทใหญ่ ถอดออกมาให้ทำการจดจำได้อย่างง่ายดายมากขึ้น หรือเพื่อนำมาใช้ในการบริกรรมที่ได้ใจความมหาขึ้น แต่ยังคงได้ความหมาบ หรือใจความสำคัญแห่งพระคาถาบทเดิมอยู่

            ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท ได้ทำการบันทึกเรื่องราวของคาถากาสัก ที่ได้รับจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า “จะ-ภะ-กะ-สะ” โดยท่านสั่งให้ทำการท่องจำเอาไว้ให้ได้ ตื่นนอนขึ้นมาก็ให้ว่าคาถานี้สามจบ ก่อนนอนสวดมนต์จบแล้ว ก็ให้ว่าคาถานี้สามครั้ง ทำทุกวันอย่าให้ขาดจะไม่มีใครทำอะไรเอ็ง เอ็งจะอยู่เป็นสุขไปจนตาย และต้องเตือนใจตัวเองให้เป็นคนดี ซึ่งท่านคึกฤทธิ์ ได้ทำการท่องคาถากาสักเป็นประจำทุกวัน จนแก่ชราก็ไม่เคยหัวแตก หรือเป็นไข้โป้งสักที

 

ยันต์หัวใจกาสัก  ภาพจาก : baanjompra.com

 

ยันต์หัวใจกาสัก

            ยันต์หัวใจกาสัก เป็นหนึ่งในของขลังในลักษณะของการจารึกลงบนแผ่นยันต์ แล้วม้วนทำเป็นตะกรุดโ?น ลงด้วยทองคำหรือตะกั่วก็ได้ ในขณะที่ทำการลงตะกรุดโทนให้ทำการลงด้วยคำภาวนาว่า “จะ จะ ชะทุชชะนะสังสัคคัง” ไว้ใช้ในการปกป้องคุ้มครองจากภัยอันตรายทั้งปวง

            “นกกาสัก” หรือ “ผีกาสา” เป็นหนึ่งในสิ่งลี้ลับที่มีประวัติศาสตร์คู่กับความเชื่อของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่น่าเสียดายที่เรื่องราวของนกกาสักกลับเป็นสิ่งที่ค่อยๆถูกลืมเลือนหายไปจากการรู้จักของคนไทยในสมัยปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามการที่ถูกลืมเลือนก็ไม่ได้หมายความว่า “นกกาสัก” จะสาบสูญพันธุ์ ที่จริงแล้วพวกมันอาจเพียงแค่บินวนเวียนอยู่ระหว่างตึกใหญ่กลางเมืองหลวง โดยมี่ใครทันรู้ตัวเท่านั้นเอง...

 

 

 

นกผี ผีไทย สัตว์ผี
แบ่งปัน:
Line borderless Line borderless

ประวัติศาสตรผี ปีศาจ และอมนุษย์ทั่วโลก

  • สัตว์ประหลาดในตำนาน นิทานพื้นบ้านและภูตจากทั่วโลก (113)
  • ตำนานเมืองสยองขวัญทั่วโลก (84)
  • ผีในทวีปออสเตรเลีย (4)
  • เรื่องราวแปลกประหลาดและน่าสนใจทั่วโลก (42)
  • พ่อมดและแม่มด เวทมนตร์ อัญมณีและของขลัง (50)
  • เกมผี เกมสยองขวัญ (35)
  • ผีในประเทศญี่ปุ่น (385)
  • หนังสยองขวัญ การ์ตูนผี และเพลงต้องสาป (581)
  • ฆาตกรและปีศาจในคราบมนุษย์ (42)
  • เทพ ยมฑูต และเทวตำนาน (57)
  • ผีในทวีปแอฟริกา (15)
  • ผีในทวีปเอเชีย (88)
  • อมนุษย์ ปีศาจและเดรัจฉาน (142)
  • สถานที่สิงสู่ของผีเฮี้ยนทั่วโลก (323)
  • ความเชื่อ พิธีกรรมและสิ่งของต้องสาป (107)
  • เรื่องผีสั้นๆ (476)
  • ผีในทวีปยุโรปและอเมริกา (234)
  • ผีในประเทศไทย (44)

ค้นหาจาก Tag ... คลิก!

[[รีวิวหนังสยองขวัญ แต่ไม่สปอย]] Final Destination เจ็ดต้องตาย โกงความตาย
เบกะทาโร่ (Bekatarō) ภูตผีหิวโหย เขมือบคน แห่งประเทศญี่ปุ่น
โบกี้แมน (Bogeyman) ปีศาจพันหน้าที่หลอกหลอนเด็กๆกว่า 20 วัฒนธรรม
ตำนานเมืองสั้นๆ “รถโรงเรียน”
พริโคลิชิ (Pricolici) มนุษย์หมาป่าแวมไพร์ แห่งประเทศโรมาเนีย
ตำนานผีญี่ปุ่น มาโยยบูเนะ (Mayoibune) เรือผีเร่ร่อนแห่งท้องทะเลเปิด
Copyrights © 2023 All Rights Reserved by amorerana.com.
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา