ใบหนาด สมุนไพรพื้นบ้านกับคุณสมบัติไล่ผี ต่อต้านสิ่งชั่วร้าย
“ใบหนาด” เป็นพืชที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์มาอย่างช้านานว่า สามารถที่จะใช้เพื่อขับไล่ภูตผี ปีศาจและสิ่งชั่วร้ายได้เป็นอย่างดี แต่.. เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับใบหนาดมาก่อน ทำให้อาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าที่จริงแล้ว ใบหนาดนั้นมีสรรพคุณอีกมากมายต่อสุขภาพที่มากกว่าเพียงแค่การขับไล่สิ่งชั่วร้ายเท่านั้น..
ทำมไมผีร้ายหวาดกลัวใบหนาด!?
ใบหนาดมีรูปร่างคล้ายกับเฉลวนิยมนำมาปักไว้บริเวณเขตบ้าน ด้วยความที่ใบหนาดมีหนามแหลม ทำให้ผีหวาดกลัวว่าหากผ่านเข้ามาร่างกายจะติดอยู่กับลวดหนาม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำไม้มีหนามมาทำเป็นประตูบ้าน เพื่อเป็นการป้องกันวิญญาณผีร้ายไม่ให้เข้ามารังควานคนในบ้าน จึงไม่น่าแปลกใจนักที่คนในสมัยก่อนจะนิยมปลูกต้นหนาดเอาไว้ในบริเวณบ้านแทบทุกครัวเรือน แม้เวลาจะล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันนี้ หมู่บ้านในชนบทหลายแห่งก็ยังนิยมปลูกต้นหนาดเอาไว้เหมือนกับในครั้งอดีต
เฉลว คืออะไร!?
เฉลว นิยมนำมาปักเอาไว้ที่บริเวณประตูของบ้านเมื่อนำศพผ่าน มักแขวนเอาไว้จนกว่าจะผังเสื่อมสลายไปเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ในบางครั้งอาจนำมาปิดปากหม้อยา พร้อมกับกล่าวคาถากำกับว่า “นะโม พุทธาย” เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้แพทยาธรลักเอาหัวยาไป ซึ่งส่งผลทำให้ตัวยาในหมอหมดฤทธิ์เดช
การใช้ใบหนาดในการปราบวิญญาณร้าย
ใบหนาดมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีกรรมท้องถิ่นและทางศาสนา เช่น นำมาใช้ในการประพรมน้ำมนต์ เป็นต้น หรือบางครั้งก็นำมาใช่ร่วมกับหญ้าคาในการพรมน้ำมนต์ไล่ผีร้าย
นอกจากคุณสมบัติในการป้องกัน ขับไล่วิญญาณร้ายแล้ว ใบหนาดยังสามารถนำมาใช้เพื่อ “ปราบ” ผีร้ายได้เช่นกัน คนในสมัยก่อนนิยมนำเอาใบหนาดมาผสมกับใบสาบแร้ง ใบสาบกามาบรรจุเป็นหมอนปืนยิงเพื่อขับไล่วิญญาณร้าย เชื่อว่ากลิ่นของสมุนไพรเหล่านี้ เป็นที่รังเกียจของผีร้ายจนต้องทนไม่ได้ถอยหนีไป
นอกจากนี้ คนโบราณยังเชื่อว่าเมื่อต้องเดินทางออกจากบ้านไปยังสถานที่อื่น ควรทำการเด็ดใบสดของต้นหนาดติดตัวใส่กระเป๋าไปด้วย 1-2 ใบ จะช่วยป้องกันไม่ให้ภูตผีเข้ามาใกลืหรือทำการหลอกหลอนได้อย่างชะงัด
ใบหนาดกับสรรพคุณในการดูแลสุขภาพที่มากกว่าการป้องกันสิ่งชั่วร้าย
นอกจากสรรพคุณในการป้องกันผีร้ายแล้ว ใบหนาดยังมีกลิ่นหอมคล้ายกับการบูร ไม่สาปเหมือนกับกลิ่นของใบสาบแร้ง ใบสาบกา ทำให้เหมาะอย่างมากในการขับไล่แมลงออกจากเขตบ้านตามธรรมชาติ โดยไม่ทำให้ต้องแสบติดขัดจมูกยามเมื่อสูดดมอีกด้วย เนื่องจากใบหนาดมีสารชื่อว่า CRYTOMERIDION ที่เมื่อนำไปกลั่นเป็นน้ำมัน แล้วรอให้ตกผลึกแห้งจะกลายเป็น “พิมเสน” ที่มีกลิ่นหอมเย็นชื่อใจ
ใบหนาดตากแห้ง เมื่อนำมาชงกับน้ำร้อนจะเกิดกลิ่นหอมจากพลังของน้ำมันหอมระเหยตาธรรมชาติ เมื่อนำมาจิบแทนชาจะมีสรรพคุณช่วยในการป้องกันไข้หวัดที่มักเกิดขึ้นหลังจากช่วงปลายฝนต้นหนาวได้อีกด้วย และใบฝอยหากตากแดดพอประมาณ เมื่อนำมาผสมกับยาเส้นหรือยาฉุนห่อด้วยใบต้องแห้งสูบ เชื่อว่าจะช่วยในการรักษาโรคริดสีดวงจมูกให้แห้งรวดเร็วขึ้น ถ้าหากนำไปบดผสมกับเนื้อไม้ต้นข่อย แก่นต้นกามปู ต้นพิมเสร การบูรแห่ง นำมาสูบจะช่วยรักษาโรคหืด
ใบหนาดสด สามารถนำมาเคี้ยวกินได้ครั้งละ 1-2 ใบ ใช้เป็นยาขับผายลม แก้อาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมกะได้ ส่วนรากเมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาขับนิ่ว ขับปัสสาวะและไตพิการ ไอ้อย่างมีประสิทธิภาพ