“เมืองซาเลม” การล่าแม่มดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
เดิมที่คำว่า “แม่มด” (Witch) มาจากคำในภาษาอังกฤษโบราณ “Wicce” เชื่อกันว่าบุคคลเหล่านี้เมื่อครั้งหนึ่งคือผู้ที่มีอำนาจพิเศษ ที่ใช้เพื่อช่วยเหลือหมู่บ้านหรือประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองได้ โดยอาจใช้อำนาจที่มี ให้คำปรึกษาหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้คน
อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนั้นเป็นลดทอนอำนาจของคริสตจักรให้น้อยลง เพื่อเป็นการรักษาอำนาจและเงินทองเอาไว้ จึงมีการตราหน้าว่าคนที่ไม่ได้เข้ารีตไม่สามารถมีองค์ความรู้เหล่านั้นได้เอง แสดงว่าจะต้องเป็นความรู้ที่ได้รับมาจากการทำสัญญากับมารร้าย นำไปสู่การตามล่าสังหารเหล่าแม่มด ในเขตแดนของสหราชอาณาจักรจะทำการสังหารแม่มดด้วยแขวนคอ ขณะที่ฝรั่งเศสจะเป็นการเผาให้มอดไหม้ทั้งเป็น
การล่าแม่มดในอาณานิคมอเมริกา
การล่าแม่มด ณ ซาเลม เริ่มต้นขึ้นในปี 1692 หลังจากที่ลูกสาวและหลานสาวของ “ซามูเอล แพร์ริส” ล้มป่วยลง เมื่ออาการไม่ดีขึ้น “ดร.วิลเลียม กิ๊กส์” ได้ถูกเรียกตัวมาช่วยรักษาทั้งสอง ก่อนที่เขาจะลงความเห็นว่าพวกเธอต้องมนต์ สิ่งนี้ได้เริ่มทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเมืองเล็ก ๆ แห่งนี้
สาว ๆ สารภาพว่าพวกเธอได้เรียนรู้เวทมนตร์ที่จะช่วยให้พวกเธอได้รู้ว่าจะได้แต่งงานกับชายคนใดในอนาคตจาก “ทิสทูบา” (Tituba) ทาสหญิงผิวสี ในช่วงเวลานั้นการล่วงรู้อนาคตถือว่าเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายที่ไม่มีใครล่วงรู้นอกจากพระเจ้า และแทนที่จะได้เห็นอนาคตแห่งความรัก พวกเธอกลับได้เห็นโลงศพแทน พร้อมกับทำตัวแปลก ๆ
ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะถูกเก็บเอาไว้เป็นความลับ แต่ข่าวลือก็ยังแพร่กระจายออกไป ในไม่ช้าผู้หญิงอีกหลายคนก็เริ่มเจ็บป่วยด้วยอาการแบบเดียวกัน เมื่อถูกถามสาเหตุพวกเธอก็พากันโทษทิสทูบาผู้น่าสงสาร จนทำให้เธอถูกนำตัวไปทรมานให้สารภาพว่าเป็นแม่มด
หลังจากนั้น ผู้หญิงสองคน “ซาร่า กู๊ด” (Sarah Good) และ “ซาร่า ออสบออน” (Sarah Osborne) ก็ถูกตราหน้าว่าเป็นแม่มด เพียงสองสัปดาห์ต่อมา “รีเบคก้า เนิธ” Rebecca Nurse และ “มาร์ธา คอรี” (Martha Cory) ก็ถูกตั้งข้อหาในการใช้เวทมนตร์คาถาด้วยเช่นกัน ภายในสิ้นเดือนเมษายน มีผู้ถูกคุมขังในฐานะแม่มด 6 คน
ในเดือนพฤษภาคม กว่า 100 คน ถูกจับกุมในข้อหาการใช้เวทมนตร์คาถา หลายคนถูกตัดสินให้มีความผิด เพราะเหยื่อให้การว่าได้มาปรากฏต่อหน้า แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือการพบเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้กล่าวหาเท่านั้น
สิ่งที่ชวนให้ประหลาดใจคือ ในยุคนั้นมีแนวคิดว่าการ “โกหกเป็นบาป” นอกจากนี้ ยังเชื่ออีกว่าจะมีใครบ้างที่โกหกเกี่ยวกับการเห็นแม่มด หรือปิศาจที่พยายามฆ่าตัวเอง?
เซอร์ วิลเลียม ฟิปส์ (Sir William Phips) เดินทางจากประเทศอังกฤษมายังเมืองซาเลมในวันที่ 14 พฤษภาคม 1692 พร้อมกับจัดตั้งศาลขึ้นมาเพื่อทำการพิจารณาคดีแม่มดโดยเฉพาะ ผู้ต้องหาถูกตัดสินว่ามีความผิดอย่างรวดเร็วและถูกจับแขวนคอ ก่อนจะจบที่เหยื่อรายสุดท้าย “ไจล์ส คอรี” (Giles Cory) ชายผู้ไม่ยอมสารภาพความผิด จึงได้ถูกตัดสินให้นำหินก้อนใหญ่มากดทับเอาไว้บนหน้าอกของเขา แต่เขาก็ยังคงยืนกรานปฏิเสธพร้อมกับร้องขอหินเพิ่มอีก ในที่สุดเขาก็เสียชีวิตจากการถูกหินทับ
มีผู้ถูกแขวนคอจากเหตุการณ์ในครั้งนี้มากถึง 19 คน มีผู้รับสารภาพ 50 คน และมอบรายชื่อของผู้เกี่ยวข้องกว่า 100 คน และอีก 200 คน ถูกกล่าวหา แต่ก็ไม่เคยถูกจับกุม แต่ความหวาดกลัวแม่มดก็ไม่ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีการใส่ความกันมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด แม้แต่การทำท่าทางตลก ๆ ของเด็ก ๆ ก็กลายมาเป็นประเด็นที่สามารถนำขึ้นศาลเพื่อพิจารณาคดีแม่มดได้?
มาถึงตอนนี้ เริ่มมีการตระหนักถึงข้อกล่าวหาเท็จต่อผู้อื่นว่าใช้เวทมนตร์คาถา นำไปสู่การต่อต้านศาลเนื่องจากผู้คนมองเห็นช่องโหว่ที่เกิดขึ้น ในขณะที่คณะลูกขุนได้ออกมายอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความหวาดกลัว พยานหลายคนยกเลิกคำให้การของตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วคำให้การของพวกเขามักมาจากความโลภ ความหึงหวงและต้องการกำจัดคู่แข่งเพื่อแสวงหาอำนาจ ในที่สุดผู้พิพากษาเองก็ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเองในปี 1697
ค.ศ. 1711 สภานิติบัญญัติแห่งรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้นำคดีดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาพร้อมกับตัดสินให้มีการชดใช้เงินให้กับญาติของผู้เสียชีวิตจากการประหารชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวน 580 ปอนด์ สเตอลิงก์ และ 12 ชิลลิง หรือประมาณ 108,798.78 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน (ประมาณ 3,991,309.03)...
นูเรออนนะ (Nure onna) ผีดิบดูเลือดจอมมารยา ล่อลวงลิ้มเลือดสยอง แห่งประเทศญี่ปุ่น