ผีห่า เรื่องจริงหรือเพียงแค่บทภาพยนตร์!?
“ผีตายห่า” หรือ “ผีห่า”... เป็นชื่อเรียกของวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคห่า ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของรัตนโกสินทร์ที่เกิดเหตุการณ์โรคห่า หรือ “อหิวาตกโรค” (บางครั้งคนที่ตายด้วยกาฬโรคก็มักถูกเรียกรวมอยู่ในกลุ่มตายห่าเช่นกัน) ที่ระบาดในเขตพระนครอย่างรุนแรง บวกกับสุขอนามัยและการแพทย์ที่ยังไม่เจริญในสมัยนั้น ทำให้เกิดการล้มตายของผู้คนด้วยโรคห่าเป็นจำนวนมาก อีกทั้งวัดยังไม่สามารถรองรับศพจำนวนมหาศาลได้จนนำไปสู่การทิ้งศพเอาไว้ตามสถานที่สาธารณะและในคลองน้ำ จนยิ่งทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคมากขึ้นกว่าเดิม
เชื่อกันว่าคนที่เสียชีวิตจากการตายห่า ดวงวิญญาณจะไม่สงบสุข เพราะนอกจากจะเป็นการตายโหงที่เกิดขึ้นอย่างผิดธรรมชาติแล้ว ดวงวิญญาณที่ไม่ได้รับการทำพิธีส่งดวงวิญญาณตามประเพณีอย่างเหมาะสมก็จะกลายเป็นวิญญาณหลงทางที่มักปรากฏตัวให้ผู้คนเห็น สร้างความหวาดกลัวให้กับคนในสมัยนั้นทั้งในเรื่องของโรคภัยและไข้หัวโกร๋นจากการถูกผีหลอกอย่างมากเลยทีเดียว นอกจากนี้หลายคนยังเชื่อว่าที่จริงแล้วผีห่า คือ ผีที่เป็นต้นเหตุสำคัญที่นำพาโรคห่าให้ระบาดต่อผู้คนที่ทำให้เกิดความตายอันมากมาย
ในภายหลังจึงได้มีการเปรียบเปรยว่า ผีที่กลับมาหลอกหลอนคนโดยไม่ยอมไปสู่สุคติจัดอยู่ในกลุ่มของผีที่ “ดุร้าย” และมีความ “เลวร้าย” เหมือนกับผีโรคผีห่าในสมัยก่อนจนกลายมาเป็นคำเรียกวิญญาณที่ทำตัวในลักษณะเดียวกันว่า “ตายห่าตายโหง” ในปัจจุบัน แม้คำว่า “ตายห่า” มักจะเป็นเพียงคำอุทาน แต่คำว่า “ขอให้ตายโหงตายห่า” ก็จัดว่าเป็นหนึ่งในคำสาปแช่งที่รุนแรง เพราะนอกเป็นการไม่ได้ตามดี อีกทั้งยังเป็นการตายอย่างเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัสจากอาการของอหิวาตกโรคอีกด้วย
Beelzebub ราชาปีศาจของเหล่าผีห่า
ในทวีปตะวันตกมีปีศาจตนหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นผู้แพร่โรคระบาด เช่น โรคห่าและกาฬโรคจนทำให้มีคนล้มตายเป็นจำนวนมากถึงขั้นเข้าสู่ยุคมืด ซึ่งปีศาจตนนี้มีชื่อว่า “เบลเซบับ” เป็นหนึ่งในจอมปีศาจของศาสนาคริสต์ในคัมภีร์ไบเบิลที่ระบุว่า มันเป็นอีกนามหนึ่งของซาตาน แต่ทั่วไปเชื่อว่าเป็นชื่อของเจ้าชายแห่ง “ความเท็จ” ของนรก เป็นตัวแทนของ “ความตละกละตะกลาม” ในบาปทั้งเจ็ดอันร้ายแรงของมนุษย์ เบลเซบับ มีรูปกายเป็นแมลงวันขนาดยักษ์ จนถูกเรียกขานว่าเป็น “พระเจ้าของแมลงวัน” แม่มดมากมายที่ถูกจับกุม สารภาพว่า ได้ขอยืมพลังจากปีศาจตนนี้ โดยเฉพาะในเหตุการณ์ล่าแม่มดในเมืองซาเลม สหรัฐอเมริกา และในอีกหลายพื้นที่ของยุโรป ปีศาจตนนี้ที่เป็นราชาของเหล่าแมลงวันทั้งมวลจึงเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคห่านั่นเอง
โรคห่า หรืออหิวาตกโรค (Cholera) ในประเทศไทย
อหิวาตกโรค หรือในสมัยโบราณเรียกว่า “โรคลงราก” เป็นหนึ่งในโรคติดต่อร้ายแรงที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยตรงกับช่วงรัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ.2363 แพร่ระบาดจากทางอินเดียเข้ามายังประเทศไทยผ่านทางปีนัง ทำให้มีคนไทยตายไปกว่า 30,000 คน ในสมัยรัชกาลที่ 3 โรคห่าได้กลับมาระบาดอีกครั้งเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน ทำให้มีคนตายกว่า 5,000 คน และช่วงต้นของรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2416 โรคห่าได้กลับมาระบาดอีกครั้งมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 6,600 8o
โดยมักเกิดขึ้นกับแหล่งชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะสถานที่ที่น้ำสะอาดไม่เพียงพอและไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ การสุขาภิบาลที่ไม่ดี รวมไปถึงการทานอาหารที่ไม่ถูกสุขาภิบาล มักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูร้อน และเกิดมากขึ้นในช่วงหน้าแล้งที่ไม่มีฝนตกเป็นระยะเวลานาน และมักเกิดขึ้นบ่อยหลังจากที่มีงานเทศกาลที่ทำให้เกิดการรวมตัวของคนเป็นจำนวนมาก สามารถติดต่อกันได้แบบเฉียบพลันทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่านทางแมลงวัน อาหารและน้ำดื่ม เป็นต้น ยิ่งผู้ป่วยทำการขับถ่ายของอเสียลงในแหล่งน้ำสาธารณะจะทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้มากขึ้นกว่าเดิม เมื่อมีผู้ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ถูกผู้ป่วยอาเจียนใส่หรือสัมผัสอุจจาระของผู้ป่วยจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกิดอาการขาดน้ำ ขาดแร่ธาตุอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการช็อกจนเสียชีวิตได้ เพราะอัตราการเสียชีวิตจากโรคห่าหากไม่ได้รับการรักษาสูงถึง 50% เลยทีเดียว
สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรคจะเกิดที่บริเวณลำไส้เล็กโดยเชื้อแบคทีเรีย Vebrio Cholerae สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยแต่พบค่อนข้างน้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี โดยมีพาหะเป็นผู้ป่วยที่มีเชื้ออหิวาตกโรคอยู่ในร่างกาย
บทสรุปส่งท้าย : ผีห่ามีจริงหรือเปล่า!?
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ผีห่าอาจเป็นการอุปมาของผีร้ายที่มีตัวตนอยู่จริงเพื่อพรากชีวิตของเหล่าคนเป็นด้วยความทุกข์ทรมานจนทำให้เกิดความหวาดกลัวเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันจากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องผีห่าอโยธยา ทำให้หลายคนเชื่อว่าผีห่ามีตัวตนอยู่จริงนั่นเอง...