แนะนำ 26 ผีที่ปรากฏตัวบ่อยครั้งในภาคใต้ของประเทศไทย ตนไหนร้ายกาจ น่าขนลุกบ้าง!? มาทำความรู้จักกัน...
ภาคใต้ของประเทศไทย.. เป็นดินแดนแห่งท้องทะเลและผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ แต่..ในขณะเดียวกันภาคใต้เองก็เต็มไปด้วยเรื่องราวเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีสางอีกมากมายเช่นกัน สำหรับบทความในวันนี้ จึงอยากขอพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ 26 ผี ที่น่าสนใจของภาคใต้ ว่าจะมีตนใดบ้างที่น่าขนลุกและยังคงแอบซ่อนตัวเองอยู่ในดินแดนที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งนี้กัน!?
1.ผีในภาคใต้ : ผีกองกอย
ผีกองกอย บางครั้งเรียกกันว่า “ผีเบื้อ” “ผีเก็งกอย” หรือ “ผีเขย่งเก็งกอย” เป็นผีป่าประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทเดียวกับโป่งค่าง มีลักษณะไร้หัวสะบ้า เวลาเดินทางต้องโขยกร่างกระโดด พร้อมกับเปล่งเสียงว่า “เก็งกอย” หรือ “กองกอย”
2.ในภาคใต้ : ผีกลิ้งกางดง
ผีกลิ้งกลางดง เป็นผีป่า ที่มีนิสัยชื่นชอบการหลอกหลอนผู้คนที่เข้ามาในป่า บางครั้งผีกลิ้งกางดงอาจแปลงกายเป็นไก่ป่าแอบอยู่ในพุ่มไม้พร้อมกับส่งเสียงร้อง แต่ถ้าหากใครเข้าไปใกล้ก็จะค่อยๆหนีหายห่างออกไปจนไม่มีใครเห็นหรือจับตัวได้
3.ในภาคใต้ : ผีขโมด
ผีขโมด เป็นผีป่าที่ปรากฎตัวในลักษณะของเปลวไฟ มีนิสัยชอบหลอกคนเดินป่าในตอนกลางคืน หลายคนเชื่อว่าผีโมดบางตัวก็ค่อนข้างดุและอาจทำร้ายผู้คนที่ล่วงรู้ตัวจริงของพวกมัน
4.ในภาคใต้ : ผีเจ้าเสน
ผีเจ้าเสน เป็นผีชั้นครูที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของผู้คน เชื่อกันว่าผีเจ้าเสนจะปรากฎตัวขึ้นเพื่อเป็นการบ่งบอกและดลบันดาลให้บุคคลนั้นเป็นโนรา อย่างไรก็ตามครูหมอโนราสามารถทำพิธีกรรมลบผีเจ้าเสนออกจากผิวหนังของบุคคลนั้นได้เช่นกัน
5.ในภาคใต้ : ผีฉมบ
ผีฉมบ หรือ ผีมบ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับผีกะ หรือผีกละ โดยทั่วไปแล้วมักเป็นวิญญาณของผู้หญิงที่เสียชีวิตในป่า บางครั้งปรากฏตัวในรูปร่างผู้หญิง บางครั้งคล้ายกับงู แต่เป็นวิญญาณที่ไม่ได้ทำอันตรายกับผู้ที่พบเห็น
6.ในภาคใต้ : ผีครูหมอ
ผีครูหมอ เป็นผีของผู้มีอำนาจของคนภาคใต้ ที่ผู้คนต่างให้ความเคารพกราบไหว้นับถือตามโอกาส อาทิเช่น ผีบรรพบุรุษ ผีครูหมอตายาย เป็นต้น
7.ในภาคใต้ : ผีนางประดู่
ผีนางประดู่ จัดอยู่ในกลุ่มของผีนางไม้ประเภทหนึ่ง มักสิงสถิตอาศัยอยู่ในต้นประดู่ มักเป็นหญิงงามและมีนิสัยดี ไม่ดุร้ายออกหลอกหลอนทำร้ายผู้คน
8.ในภาคใต้ : ผีโปหมอ
ผีโปหมอ หรือ ผีปู่หมอ เป็นผีชั้นครู ที่สอนวิชาปรุงยาพื้นบ้านและการรักษาโรคให้กับชาวบ้านตามความเชื่อของชาวภาคใต้
9.ในภาคใต้ : ผีโป่ง
ผีโป่ง เป็นผีป่า ที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับค่าง หางสั้น ฟันด้านบนยื่นออกมาจากริมฝีปาก ชอบแอบลอบมาดื่มเลือดของคนที่ค้างแรมในป่า
10.ในภาคใต้ : ผีปราบ
ผีปราบ เป็นวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ปลักหมูป่า ลานนอกห้อง ปลักแรด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผีปราบเป็นผีที่ให้โทษกับคนที่เข้าไปยุ่งย่ามรบกวนกับสถานที่อยู่ของตนเอง ทำให้ถูกเรียกว่าผีปราบ อันเป็นที่มาของคำว่า “ผีปราบมนุษย์” นั่นเอง
11.ในภาคใต้ : ผีไผ่ไข่คีม
ผีไผ่ไข่คีม เป็นผีป่าประเภทหนึ่ง สิงสถิตอาศัยอยู่ตาม “ไผ่ขาคีม” ที่มีลักษณะของลำต้นแตกออกมาเป็นปาง ถ้าหากไปรบกวนจะทำให้ผีโกรธและลงโทษคนเหล่านั้น
12.ในภาคใต้ : ผีแม่หนุ้ย
ผีแม่หนุ้ย เป็นผีบ้านผีเรือนประเภทหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ช่วยคุ้มครองลูกหลานที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน เป็นที่นับถืออย่างมากของสตรีมีครรภ์และหมอตำแย การเซ่นไหว้ผีแม่หนุ้ยจะต้องทำด้วยของหวาน โดยห้ามเอ่ยชื่อของหวานอย่างเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นผีแม่หนุ้ยจะเข้าสิงร่างเพื่อเป็นการลงโทษในทันที
13.ในภาคใต้ : ผีตาเหล้เถอ
ผีตาเหล้เถอ เป็นผีดี ที่ช่วยในการติดตามหาสิ่งของที่สูญหาย หากต้องการความช่วยเหลือต้องทำบนบานผีตาเหล้เถอด้วยการทำต้นหญ้าเป็นปม จากนั้นเมื่อได้พบสิ่งของที่สูญหายไปแล้วได้คืน ต้องมาทำการแก้บนด้วยการคลี่ปมของต้นหญ้าและเซ่นไหว้ด้วยบุหรี่
14.ในภาคใต้ : ผีแม่ย่างนาง
ผีแม่ย่างนาง เป็นผีที่สิงสถิตประจำอยู่ที่เรือ เป็นผีที่ให้ทั้งคุณและโทษ หากทำการเซ่นบวงสรวงอย่างเหมาะสมเป็นประจำ แม่ย่านางก็จะช่วยดลบันดานให้หาเงินเรียกทรัพย์ได้อย่างง่ายดาย แต่หากลบหลู่ไม่บวงสรวง ก็อาจนำภัยมาให้กับเจ้าของเรือได้เช่นกัน หมอผีหลายคนเชื่อว่า ที่จริงแล้วผีแม่ย่านางอาจเป็น “นางตะเคียน” เพราะทางภาคใต้สมัยก่อน นิยมใช้ไม้ตะเคียนในการสร้างเรือ
15.ในภาคใต้ : ผีปู่โสม
ผีปู่โสม เป็นผีที่ทำหน้าที่ในการเฝ้าทรัพย์สมบัติ ส่วนใหญ่มักจะเป็นวิญญาณของเจ้าของหรือผู้เกี่ยวข้องที่เมื่อเสียชีวิตไปแล้ว วิญญาณไม่ได้ไปผุดไปเกิดเนื่องจากความหวงแหนในทรัพย์สิน ส่วนใหญ่แล้วผีปู่โสมมักจะสิงสถิตอยู่ในที่ลึกลับที่เป็นสถานที่ซ่อนสมบัติ เช่น วังน้ำลึก ในถ้ำเร้นลับกลางป่าเขา เป็นต้น
16.ในภาคใต้ : ผีทะเล
ผีทะเล เป็นผีที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีความสามารถในการแปลงกายได้เป็นหลายอย่าง ส่วนใหญ่มักชั่วร้ายและต้องการดวงวิญญาณของมนุษย์ที่ได้พบมาเป็นตัวตายตัวแทนหรือทาสของตนเอง
17.ในภาคใต้ : ผีแม่พังสะดำ
ผีแม่พังสะดำ เป็นผีป่าประเภทหนึ่ง มักสิงสู่อยู่กับต้นยวนหรือต้นรังผึ้ง ทำหน้าที่ในการปกปักรักษานางพญาผึ้ง ดังนั้น คนที่ต้องการทำการจับผึ้งจำเป็นที่จะต้องทำการเซ่นบวงสรวงผีแม่พังสะดำเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับตัวเอง
18.ในภาคใต้ : ผีตาแมดกะเห่ย
ผีตาแมดกะเห่ย เป็นผีตามความเชื่อของชาว “ซาไก” ผีชนิดนี้มักปรากฎตัวเป็นเสือ เชื่อกันว่าถ้าหากใครเข้าป่าไปแล้วได้พบกับผีตาเมยกะเห่ยแล้วหายสาบสูญไปเมื่อกลับมาอีกครั้งจะกลายเป็น “ทวดเสือเล็ก” ร่างกายดูสูงใหญ่ขึ้น อยู่ยงคงกระพันและฟันแทงไม่เข้า
19.ในภาคใต้ : ผีตาฮู
ผีตาฮู เป็น “ผีฟ้า” ตามความเชื่อของชาว “ซาไก” เชื่อกันว่าอาศัยในแหล่งน้ำเทือกเขาบรรทัด มีลักษณะเป็นงูขนาดใหญ่ หลังสีเขียว ท้องแดง ลำตัวส่องแสงได้ สามารถเห็นแสงสว่างได้อย่างชัดเจนยามคลายการขดตัว ใบหน้าคลุมเครือไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วเมื่อได้พบกับผีตาฮู มักจะเห็นเพียงแค่ส่วนหาง ถ้าหากใครเข้าไปดูในระยะใกล้ก็จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บไม่สบายขึ้น
20.ในภาคใต้ : ผียาเงาะ
ผียาเงาะ หรือที่มักเรียกกันว่า “พญาเงาะ” เป็นผีป่าตามความเชื่อของชาวซาไก อาศัยอยู่ในเทือกเขาบรรทัด เชื่อกันว่าผียาเงาะเป็นผู้ที่ให้กำเนิดโลกและสรรพสิ่ง มีดวงตาเป็นพระจันทร์ ทำหน้าที่ในการดูแลความเป็นอยู่ของมนุษย์ หากผียาเงาะหันหน้าไปทางใดก็จะบังเกิดแสงสว่าง แต่ถ้าหากหันหลังให้สถานที่แห่งนั้นก็จะเต็มไปด้วยความมืดมิด
21.ในภาคใต้ : ผีชาวเล
ผีชาวเล เป็นผีบรรพบรุษของชาวภาคใต้ ที่จำเป็นจะต้องทำการเซ่นบวงสรวงเป็นประจำทุกปี โดยการทำพิธีลอยเรือ เพื่อเชื้อเชิญให้ผีชาวเล ผีบรรพบุรุษเข้ามาร่วมงาน เพื่อขอให้ทำการดูแลปกปักรักษาลูกหลานสืบต่อไป
22.ในภาคใต้ : ผีพ่อตา
ผีพ่อตา เป็นผีเจ้าที่ตามความเชื่อของชาวภาคใต้ ทำหน้าที่อารักษ์คนในบ้าน คำว่าพ่อตาหมายถึง “ทวด” (ชาวไทยมุสลิมเรียกว่า “โต๊ะ”) ชาวบ้านมักทำการสร้างศาลให้กับผีพ่อตา เรียกกันว่า “ศาลพ่อตา” หรือ “ศาลหลาทวด” โดยมีขนาดเล็ก-ใหญ่ แตกต่างกันออกไป (*ทวด ในที่นี้อาจหมายรวมไปถึงสัตว์ใหญ่) เชื่อกันว่าที่จริงแล้ว ผีพ่อตาอาจเป็นเทวดาชั้นต่ำประเภทหนึ่งเช่นกัน
23.ในภาคใต้ : ผีหลาง
ผีหลาง ในบางครั้งถูกเรียกว่า “ผีข้างตาล” เป็นหนึ่งในผีบรรพบุรุษของชาวภาคใต้ ผีประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มของหมอตำแย
24.ในภาคใต้ : ผีนางโอกระแชง
ผีนางโอกระแชง หรือในบางครั้งเรียกกันว่า “นางกระแชงสองตอน” เป็นหนึ่งในผีบรรพบุรุษ อยู่ในกลุ่มของผีตา ผียาย ทำหน้าที่ในการดูแลรักษาโอกระแชง ที่เป็นหลังคามุงโรงของตัวโนราทั้งด้านซ้ายละขวา
25.ในภาคใต้ : ผีหล้วง
ผีหล้วง มีลักษณะเป็นสัตว์จำพวกกระแตตัวเล็ก ตาปูดโปนสีแดง มักพบในจังหวัดพังงา กระบี่และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น หากทำให้พื้นที่อาศัยสกปรกหรือปลูกบ้านในทางผีหลวงผ่านก็อาจถูกทำร้ายหรือทำให้ครอบครัวไม่มีความสุขในชีวิต
26.ในภาคใต้ : ผีหลังกลวง
ผีหลังกลวง หรือผีสันหลังเหวอะ เป็นผีป่าที่มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ธรรมดาทุกประการ แต่บริเวณด้านหลังจะเปิดโล่งให้เห็นตับไต ไส้พุงและหนอนเต็มไปหมด เป็นผีที่ชอบหลอกให้ตกใจกลัว แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่ทำร้ายมนุษย์ สำหรับจุดอ่อนของผีหลังกลวงคือปลาหมอ ที่จะถูกมนุษย์จับมาโยนใส่ข้างหลังเพราะแรงดิ้นของปลาหมอจะทำลายเครื่องในของมันนั่นเอง